เพลงเขมรลออองค์
            เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประสบความสำเร็จในการทรงพระราชนิพนธ์เพลงราตรีประดับดาวเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วขณะที่แปรพระราชฐานไปประทับพักแรมณพระที่นั่งไกลกังวลตำบลหัวหินพ. ศ. 2473ก็ทรงพระราชดำริที่จะทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงต่อไปอีกในครั้งมีพระราชประสงค์จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงที่มีสำเนียงเขมร

บ้างเพื่อให้แปลกรสออกไป ก็ส่งเลือกได้เพลงเขมรเอวบาง 2 ชั้นซึ่งเป็นเพลงโบราณที่กลายมาจากเพลงเขมรแท้เพลงหนึ่งอันเพลงเขมรเอวบาง 2 ชั้นนี้ในขั้นแรกพวกลิเกบันตนได้นำมาใช้ร้องกันก่อนโดยมีบทร้องขึ้นต้นว่านกเอี้ยงเต่านาแล้วก็มีคำเขมรแท้แทรกเป็นตอนตอนต่อมาภายหลังจึงมีผู้ประพันธ์ปรับปรุงทำนองอ่อนโยนขึ้นใช้ร้องในการแสดงละครและอื่นๆ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองดนตรีขยายอัตราเพลงเขมรเอวบาง 2 ชั้นขึ้นเป็น 3 ชั้นก่อนแล้วจึงทรงตัดลงมาเป็นอัตราจังหวะชั้นเดียวอีกตอนหนึ่งเพื่อใช้บรรเลงให้ครบเป็นเพลงเถาคือสามชั้น2 ชั้นและชั้นเดียวต่อมาจากนั้นจึงทรงพระราชนิพนธ์ทำนองร้องขึ้นประกอบทุกๆอัตรา
บทร้องนั้นก็ใช้บทซึ่งคัดมาจากบทละครรำเรื่องพระร่วงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6แต่ได้ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขเพิ่มเติมบ้างบางคำดังนี้
เมื่อนั้น
ท้าวพันทมทรงฟังแล้วนั่งนิ่ง
ไทยคนนี้มีปัญญากล้าจริงๆ
จะละทิ้งเช้าไว้ไม่เป็นการ
จึงมีพระราชบัญชา
แด่พระยาเดโชยอดอาหาร
ตัวเรานี้มีบุญญาธิการ
ไม่มีใครเปรียบปานแต่เดิมมา
วันนี้พระร่วงเมืองละโว้
มีปัญญาอักโขทั้งใจกล้า
ไม่เกร็งซึ่งราชอาญา
ทิ้งไว้ช้าจะทำรำคาญใจ
จะตั้งตนขึ้นเป็นผู้วิเศษ
ก่อเหตุกำเริบเติบใหญ่
และพญาเดโชชาญชัย
จึงรีบไปกุมจับคนสำคัญ
           ในคำกลอนสุดท้ายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 แห่งที่ได้สัญประกาศไว้เพิ่มคำ"แน่ะ"แห่งหนึ่งกับเปลี่ยนคำว่า อ้ายสำคัญอีกแห่งหนึ่ง
เมื่อได้ทรงพระราชนิพนธ์สำเร็จแล้วทั้งทำนองดนตรีและทำนองร้องจึงส่งตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่โดยเรียนความหมายของเรื่องเพลงเขมรเอวบางอันเป็นมูลฐานว่าเพลงเขมรลออองค์และในพุทธศักราช๒๔๗๓นั่นเองเมื่อเสด็จกลับเข้าสู่พระนครจึงมีพระราชดำรัสให้ข้าราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวงนำวงปี่พาทย์ขึ้นไปเฝ้าณพระที่นั่งอัมพรสถานและทรงต่อเพลงเขมรละออองค์นั้นพระราชทานและโปรดให้นำกลับไปฝึกซ้อมให้เรียบร้อยเพื่อบรรเลงถวายทรงตรวจแก้ในโอกาสต่อไป
ขณะที่ยังนำเพลงขึ้นมาซักซ้อมกันอยู่นั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าก็ทรงคิดแก้ไขทำนองเพลงเขมรรอวงสามชั้นป้อนต้นเปลี่ยนใหม่ประโยคหนึ่งและส่งต่อพระราชทานประโยคที่เปลี่ยนนั้นมาใหม่แต่บรรดาข้าราชการที่บรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์ซึ่งได้รับพระราชทานต่อเพลงนั้นคิดเห็นว่าทำนองในประโยคที่ทรงแก้ไขใหม่นั้นของเดิมทรงพระราชนิพนธ์ไว้ครั้งแรกมีชั้นเชิงดีมากจะทิ้งเสียก็เสียดายเพราะฉะนั้นในขณะที่นำวงบรรเลงถวายตรวจสอบจึงได้ใช้ทั้ง 2 ทำนอง เอาทำนองที่ทรงเปลี่ยนใหม่บรรเลงเที่ยวแรกและบรรเลงเป็นทำนองที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ก่อนเป็นเที่ยวหลัง ก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยและยึดถือเป็นทำนองที่ถูกต้องสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

มนตรี ตราโมทและวิเชียร กุลตัณฑ์, 2523:


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระปรคนธรรพ

พระวิษณุกรรม

พระปัญจสีขร